ประวัติ ของ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์

บิ๊กซี เกิดจากความคิดกลุ่มค้าปลีกในเครือเซ็นทรัล และเครืออิมพีเรียลเมื่อ พ.ศ. 2536 โดยได้ทำการก่อตั้งบริษัท เซ็นทรัล ซูเปอร์สโตร์ จำกัดขึ้นมา และได้ทำการเปิดสาขาแรกบนถนนแจ้งวัฒนะ ในปี พ.ศ. 2537[1] และก็ได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็นบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในปี พ.ศ. 2538 แต่ต่อมาจนกระทั่งถึงช่วงวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 บริษัท Casino Guichard-Perrachon ผู้ประกอบการค้าปลีกอันดับสองของฝรั่งเศส ได้เข้ามาเพิ่มทุนและก็กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน พ.ศ. 2542

การซื้อกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 Casino Guichard-Perrachon หรือกลุ่มคาสิโน ได้ชนะการประมูลกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ด้วยราคาซื้อขาย 686 ล้านยูโร โดยมีธนาคารดอยซ์แบงก์ เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้บริษัทดังกล่าวถือหุ้นบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย และ 2 บริษัทจะรวมตัวกัน และส่งผลให้สาขาของบิ๊กซีเพิ่มเป็น 105 สาขา จาก 60 สาขา คิดเป็นมูลค่า 35,500 ล้านบาท และมีผลทำให้ตลาดค้าปลีกในประเทศไทยเหลือเพียง 2 เจ้าใหญ่เท่านั้น ได้แก่ เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี ซึ่งกิจการก็ได้ควบรวมกันเสร็จสิ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 และใน พ.ศ. 2556 บิ๊กซีได้ทำการปรับปรุงห้างคาร์ฟูร์จำนวนทั้งหมด 41 สาขาให้กลายเป็นบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ 25 สาขา, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า 15 สาขา, บิ๊กซี จัมโบ้ 1 สาขาซึ่งเป็นสาขาทดลองตลาด และยังได้ปรับปรุงร้านคาร์ฟูร์ มาร์เก็ต 18 สาขา รวมถึงรีแบรนด์บิ๊กซี จูเนียร์ให้เป็น บิ๊กซี มาร์เก็ต และปรับปรุงร้านคาร์ฟูร์ ซิตี้ เป็น มินิบิ๊กซี ครบทุกสาขาแล้ว

และเพื่อเป็นการจดจำแบรนด์คาร์ฟูร์เดิม บิ๊กซีได้กำหนดแบรนด์และรูปแบบสาขาใหม่ที่จะมาใช้แทนคาร์ฟูร์คือ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า ซึ่งเป็นการนำเอาจุดเด่นในด้านการคัดสรรสินค้าจากทุกมุมโลก และการบริการที่เป็นเลิศของคาร์ฟูร์ มารวมกับราคาคุณภาพของบิ๊กซี ซึ่งกรณีนี้ เป็นการศึกษาการให้บริการของ เอ็กซ์ตร้า ที่เป็นแบรนด์ไฮเปอร์มาร์เก็ตในประเทศบราซิล และเป็น 1 ในสมาชิกของกลุ่มคาสิโน และก็ได้นำมาปรับใช้ให้เข้ากับกับ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ในจำนวนสาขาทั้งหมด บิ๊กซี ยังได้ปิดสาขาคาร์ฟูร์ไปจำนวนหนึ่งด้วย โดยส่วนใหญ่สาขาที่ปิดไป เป็นสาขาที่ทำเลไม่เหมาะสม สาขาซ้ำซ้อน หรือหมดสัญญาเช่าที่ดิน ซึ่งบิ๊กซีก็ได้ก่อสร้างสาขาเพื่อเป็นการทดแทนเอาไว้ด้วย

การขายกิจการให้กลุ่มทีซีซีแลนด์และกลุ่มเซ็นทรัล

ใน พ.ศ. 2559 บิ๊กซีได้ส่งหนังสือแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่ากลุ่มคาสิโนได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ในบิ๊กซีทั้งหมดให้กับ บริษัท ทีซีซี กรุ๊ป จำกัด ของนายเจริญ สิริวัฒนาภักดี หลังจากเปิดการประมูลกิจการทั้งในไทย ลาว และเวียดนาม เพื่อนำเงินทุนไปชำระหนี้สินของบริษัท โดยมีกลุ่มเซ็นทรัล และทีซีซีกรุ๊ปเป็นผู้เข้าประมูล โดยการซื้อขายหุ้นได้เสร็จเรียบร้อยภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 ทำให้บิ๊กซีกลายเป็นกิจการค้าปลีกของคนไทยโดยสมบูรณ์ และบิ๊กซีได้มีการปรับแผนการดำเนินการโดยโอนส่วนผลิตสินค้าตัวเองไปอยู่ภายใต้การดูแลของบีเจซี เน้นทำตลาดสินค้าบีเจซีมากขึ้น นำร้านค้าในเครือทีซีซีมาเปิดให้บริการ รวมถึงขยายสาขาในศูนย์การค้าของกลุ่มทีซีซี เช่นพันทิปเชียงใหม่เป็นต้น

อย่างไรก็ตามทีซีซีกรุ๊ปได้สิทธิ์การบริหารเฉพาะสาขาในประเทศไทยเพียงอย่างเดียว ยกเว้นบางสาขาที่เปิดในที่ดินของกลุ่มเซ็นทรัล เช่น สาขาบางนา สาขานครราชสีมา สาขาเซ็นทรัลมารีนา และสาขาเซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี ก็จะยังคงบริหารโดยกลุ่มเซ็นทรัลภายใต้รูปแบบแฟรนไชส์จากกลุ่มบีเจซีตามเดิม ในขณะที่สาขาที่เวียดนาม 34 สาขา ได้ถูกโอนไปอยู่ภายใต้การดูแลของ เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น โดยบางสาขาได้เริ่มเปลี่ยนชื่อเป็น "โก!" แล้ว คาดว่าจะเปลี่ยนแล้วเสร็จทั้งหมดใน พ.ศ. 2563 ซึ่งสอดคล้องกับสิทธิ์การใช้ชื่อบิ๊กซีของกลุ่มเซ็นทรัลที่จะหมดลงในปีเดียวกัน